บทนำ

เนื้อหา

 บทนำ (INTRODUCTION)

         พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal energy) หรือที่รู้จักกันในรูปแบบของน้ำพุร้อน (Hot spring) เป็นแหล่งพลังงานทดแทนประเภทหนึ่ง สามารถทดแทนพลังงานเชิงพาณิชย์ เช่น ไฟฟ้าและน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำพุร้อนเป็นสำคัญ การนำน้ำพุร้อนมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด คือ การใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพแบบขั้นบันได [นัฐพร และชัชวาลย์, 2552] โดยนำน้ำพุร้อนไปใช้งานในระบบที่ต้องการอุณหภูมิสูงก่อน เมื่อน้ำพุร้อนผ่านการใช้งานแล้วจะมีอุณหภูมิลดลง จากนั้นจึงนำน้ำพุร้อนไปใช้งานในระบบต่อไป เป็นลักษณะขั้นบันไดดังแสดงในรูปที่ 1

 

 

 รูปที่ 1 การใช้ประโยชน์น้ำพุร้อนแบบขั้นบันได [นัฐพร และชัชวาลย์, 2552]

 

         จากรูปที่ 1 การใช้งานพลังงานความร้อนใต้พิภพแบบขั้นบันได สามารถสรุปได้ดังนี้

น้ำพุร้อนอุณหภูมิมากกว่า 90 °C สามารถใช้ในการผลิตไฟฟ้า (Electrical process) โดยวัฏจักรแรงคินสารอินทรีย์ ในการแลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า

น้ำพุร้อนอุณหภูมิ 70-90 °C เป็นช่วงอุณหภูมิที่สามารถนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ได้หลากหลาย ทั้งการผลิตความเย็น (Cooling process) โดยระบบทำความเย็นแบบดูดกลืน (Absorption chiller) สำหรับห้องเย็นและระบบปรับอากาศ ใช้ในการอบแห้ง (Drying process) โดยระบบอบแห้งแบบรวมศูนย์ และการเพิ่มคุณภาพความร้อนให้สูงขึ้น (Heating process) โดยตัวแปลงความร้อน (Absorption heat transformer) เพื่อผลิตไฟฟ้าร่วมกับวัฏจักรแรงคินสารอินทรีย์ 

น้ำพุร้อนอุณหภูมิ 50-70 °C เทคโนโลยีที่เหมาะสม คือ การเพิ่มคุณภาพความร้อนโดยระบบปั๊มความร้อนแบบอัดไอ (Vapor compression heat pump) สำหรับใช้ในกระบวนการอบแห้ง

น้ำพุร้อนอุณหภูมิน้อยกว่า 50 °C เป็นช่วงอุณหภูมิที่ใช้ประโยชน์ในทางวิศวกรรมได้ค่อนข้างน้อย แต่เหมาะสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการ เช่น นำไปใช้ในห้องแช่/ห้องอาบน้ำ และปล่อยกลับลงสู่แม่น้ำหรือแหล่งน้ำพุร้อนต่อไป


เอกสารอ้างอิง


นัฐพร ไชยญาติ. เทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy Technology), วิทยาลัยพลังงานทดแทน, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, พิมพ์ครั้งที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561, 416 หน้า

นัฐพร ไชยญาติ และชัชวาลย์ ชัยชนะ. ห้องอบแห้งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ๖Drying Room from Geothermal Energy), บทความวิจัยใน Proceedings สืบเนื่องจากการประชุมวิชาการการถ่ายเทพลังงานความร้อนและมวลในอุปกรณ์ด้านความร้อนครั้งที่ 8, เชียงราย, ประเทศไทย, 12-13 มีนาคม 2552.


ไฟล์ทั้งหมด

รูปปกไฟล์ ชื่อไฟล์ ประเภทไฟล์ ขนาดไฟล์ วันที่อัพโหลด Actions